ศูนย์ประวัติศาสตร์ทวาราวดี

ความเป็นมาของโครงการ

ศิลปทวารวดีในประเทศไทยนั้นอุดมไปด้วยศิลปกรรมหลายแบบปัญหาอยู่ตรงที่ว่าอาณาจักรทวาราวดีอยู่ที่ตรงไหนแม้ศิลา จารึกเหตุผลแห่งการสันนิษฐานนั้นถ้าว่าโดยทางวัตถุแล้วจะเห็นได้จากพระพุทธรูปซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับพระพุทธรูป แบบคุปตะแห่งแคว้นทวารวดีของอินเดียคำว่า“ทวาราวดี“ปรากฏที่อินเดียก่อนที่คนอินเดียเข้าไปตั้งหลักแหล่งก่อร่างสร้าง ตนเองอยู่ณ.แผ่นดินแหลมทองคงจะเอามาตั้งมณฑลหรือดินแดนที่ตนเข้ามาอาศัยก็อาจเป็นไปได้เหตุผลในทางจดหมาย เหตุก็คือว่าคำว่าทวาราวดี“อาจจะมาจากคำว่า“จุลล่อพัดดี“หรือ“โตโลปอตี้”อยู่ในจดหมายเหตุของนักพรตจีนชื่อเหี้ยนจัง นักโบราณคดีได้นำคำนี้มาเข้ากับแนวความคิดสันนิษฐาน(แต่เสริมความเห็นส่วนตัวอีกอันหนึ่งว่า“จุลล่อพัดดี“อาจมาจาก คำว่า“จุลโพธิก็ได้เพราะมีคำว่า”มหาโพธิ”เป็นคำขึ้นต้นอยู่แล้วแต่ก็ไม่มีหลักฐานอะไรที่สามารถมาอ้างอิงประกอบกับใน สมัยต่อมาก็รับเอาคำว่า“มาเป็นชื่อราชธานี2แห่งคือทวาราวดีศรีอยุธยาและกรุงเทพฯทวาราวดีแล้วสันนิฐานต่อไปกันอีกว่า ศูนย์กลางแห่งอาณาจักรทวารวดีคงจะอยู่ที่นครปฐมนั้นเองเรื่องนี้ทางพม่าก็ว่าศูนย์กลางทวารวดีอยู่ที่เมืองของเขาเช่นกัน และอาจจะเป็นไปได้ว่าขอบเขตของทวารวดีแผ่ออกไปถึงเขตพุกามคือพม่าด้วยเหมือนกัน)ระยะของศิลปทวาราวดีใน ประเทศไทยนั้นเริ่มขึ้นราวพุทธศตวรรษที่10ถึง17บรรดาศิลปกรรมทั้งหลายนั้นมีทั้งพระพุทธรูปลวดลายสิ่งก่อสร้างแต่ที่ เหลืออยู่มากนั้นได้แก่พระพุทธรูปและศิลาธรรมจักรส่วนลวดลายและสิ่งก่อสร้างนั้นมีอยู่ไม่มากนักบริเวณที่มีศิลปแบบ ทวาราวดีนั้นนอกจากเขตจังหวัดนครปฐมแล้วก็มีอีกในแถบตำบลพงตึกจังหวัดกาญจนบุรีตลอดจนในเขตตำบลคูบัวจังหวัด ราชบุรีแต่เมื่อสำรวจโดยละเอียดแล้วปรากฏว่ามีอยู่กระจายในเขตจังหวัดต่างๆเช่นอยุธยา,ลพบุรี,นครสวรรค,์พิษณุโลก, เชียงราย,นครราชสีมา,บุรีรัมย์,อุบลราชธานี,จันทบุรี,นครปฐม,กาญจนบุรี,ราชบุรี,อู่ทอง,สุราษฏร์ธาน,ีนครศรีธรรมราช และพัทลุง ทำให้ทราบว่าขอบเขตของศิลปทวาราวดี แผ่ออกไปเกือบทั่วประเทศไทย

ชุมชนก่อนประวัติศาสตร์
(PREHISTORIC INGABITANTS)
นครปฐมจัดเป็นดินแดนที่มีมนุษย์อาศัยตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีที่ขดพบระหว่างการก่อสร้างถนน มาลัยแมนเช่นเครื่องมือเศษภาชนะดินเผาและเครื่องมือทางการเกษตรทำให้สันนิษฐานได้ว่าชุมชนก่อนประวัติศาสตร์เคยตั้งถิ่น ฐานอยู่บริเวณนี้เป็นชุมชนที่รู้จักการดำรงชีพด้วยการเพาะปลูกโดยอาจมีการตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นหลักแหล่งชุมชนก่อนประวัติ-ศาสตร์นี้คงเป็นชุมชนเดียวกับที่ภายหลังได้รับอารยธรรมจากอินเดียเข้าผสมผสานกับวัฒนธรรมดั่งเดิมและพัฒนาไปสู่สังคมใน สมัย ประวัติศาสตร์ ในเวลาต่อมา

การติดต่อและรับอารยธรรมจากอินเดีย
(THECONNECTIONWITHINDIA)
ชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่นครปฐมได้พัฒนาขึ้นเมื่อมีการติดต่อรับอารยธรรมจากภายนอกโดยเฉพาะจากดะวันตกคืออินเดีย ซึ่งเป็นอู่อารยธรรมที่รุ่งเรืองในเวลานั้นการติดต่อกับอินเดียโดยเส้นทางการค้าทั้งทางบกและเส้นทางเดินเท้าโดยการใช้สัตว์ พาหนะเช่นเกวียนซึ่งมีการประดิษฐ์ขึ้นใช้แล้วในอินเดียและทางทะเลซึ่งพบหลักฐานสำคัญในเมืองโบราณนครปฐมที่แสดง ว่ามีการใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทางเช่นตราประทับรูปเรือเดินทะเลทำจากดินเผาและภาพรูปภาพปั้นเล่าชาดกประดับฐาน เจดีย์ประโทนที่แสดงถึงบุคคลกำลังพายเรือเป็นต้น
ผลจากการติดต่อกับอินเดียทำให้มีการรับวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาเข้ามาเป็น ศูนย์กลางความเชื่อของชุมชนโบราณที่นครปฐมมีการสร้างศาสนาสถานและวัตถุเป็นสัญลักษณ์ทางความเชื่อจำนวนมากและเริ่ม มีการบันทึกเหตุการณ์โดยใช้อักษรที่มีต้นแบบจากอินเดียดังนั้นชุนชนโบราณที่นครปฐมได้พัฒนาเข้าสู่วัฒนธรรมที่มีการบันทึก เรื่องราวด้วยตัวอักษร ถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์เริ่มแรกของไทย

การผสานวัฒนธรรมท้องถิ่นกับอิทธิพลการภายนอก
(COMBINATION OF NDIGENOUS COLTURT AND
FPREIGN INFLUENCE )
พุทธศาสนาได้ถือกำเนิดขึ้นแล้วในประเทศอินเดียก่าวพันปีก่อนจะเผยแผ่เข้าสู่ประเทศไทยโดยเมืองโบราณนครปฐมเป็นชุมชน แรกๆซึ่งถือได้ว่าเป็นด่านในการรับพุทธศาสนาเข้ามาประดิษฐานในประเทศไทยหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในเมืองโบราณ นครปรฐไม่ว่าจะเป็นศาสนสถานศาสนวัตถุหรือเเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันได้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลวัฒนธรรมจากอินเดียซึ่ง ค่อนข้างเด่นชัดในระยะแรกก่อนที่จะมีการผสมผสานวัฒนธรรมและรสนิยมท้องถิ่นเข้ากับอิทธิพลจากภายในเวลาต่อมาจนเกิด วัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ขึ้นในนาน วัฒนธรรมทวาราวดี

เมืองโบราณนครปฐม
( THE ANCIENT CITY OF NAKHONPATHOM )
เมืองโบราณนครปฐมตั้งอยู่ในแนวชายฝั่งทะเลเดิมและมีบทบาทในฐานะเมืองท่าชายฝั่งที่เจริญขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 11ถึง16หรือราว1500ปีมาแล้ว
ความรุ่งเรืองของเมืองโบราณนครปฐมเห็นได้จากเมืองโบราณที่มีกำแพงเมืองรูปสี่เหลี่ยมค่อมข้าง มนยาว3.6กม.และกว้าง2กม.ซึ่งนับได้ว่าเป็นเมืองโบราณที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาจากลักษณะของเมือง จะมีเส้นทางน้ำเชื่อมกับทะเลทำให้สะดวกต่อการติดต่อกับพ่อค้าและนักเดินเรือต่างถิ่นอีกทั้งยังมีเส้นทางน้ำที่สามารถติดต่อกับ ชุมชนที่อยู่ลึกเข้าไปจากชายฝั่งทำให้เมืองโบราณนครปฐมเป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับชุมชนภายนอกที่ สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในอดีตซึ่งบทบาทดังกล่าวนี้นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญ ทางสังคมและวัฒนธรรมอันส่งผลต่อความเจริญของเมืองโบราณ ดังปรากฏหลักฐานต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน

จังหวัดนครปฐม
เป็นจังหวัดที่มีชื่อรู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศโดยเฉพาะชาวเอเซียที่นับถือศาสนาพุทธเพราะเป็นที่ประดิษฐ์ฐาน องค์ที่ใหญ่ที่สุดของไทยมีอายุเก่าแก่ที่สุดและเป็นศาสนสถานสำคัญของประเทศชาติและศาสนารวมทั้งเป็นพิพิธภัณฑ์สถานที่ จัดเก็บรวบรวมศิลปะสมัยทวาราวดีไว้ได้ซึ่งในขณะนี้ทางจัหวัดนครปฐมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆได้ทำการวางแผนแม่บท เพื่อปรับปรุงวิธีการนำเสนอและการเผยแพร่ข้อมูลแก่ผู้ที่มาเที่ยวชม
ดั้งนั้นโครงการศูนย์ประวัติศาสตร์ทวาราวดีจะเป็นโครงการ ที่ตอบสนองความต้องการของนักประวัติศาสตร์ประชาชนทั่วไป,นักเรียนนักศึกษาและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยนำเอาโบราณวัตถุในสมัยทวาราวดีที่แต่เดิมถูกจัดเก็บไว้เก็บไว้ในองค์พระปฐมเจดีย์และบริเวณรอบนอกพระปฐมเจดีย์มาฃ จัดแสดงและมาแยกประเภทเพื่อง่ายต่อการศึกษาไว้ในภายในศูนย์ประวัติศาสตร์ทวาราวดีจังหวัดนครปฐมและยังเป็นโครงการ ที่ตอบสนองนโยบายต่างๆที่เกี่ยวข้องเช่นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่8(ด้านวัฒนธรรม)แผนแม่บทโครงการ สืบสานวัฒนธรรมไทยนโยบายหลักของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเพื่อต้องการปลูกฝังและส่งเสริมให้ประชาชนในชาติ ได้เรียนร็ประวัติศาสตร์ความเป็นมาในอดีตประเพณีวัฒนธรรมของประเทศชาติพอๆกับการพัฒนาประชากรให้มีความรู้และ ความสามารถสร้างประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าอันเป็นผลให้เกิดโครงการนี้เพื่อตอบสนองเหตุผลข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว

เจ้าของโครงการ

กรมศิลปากรเพื่อรองรับนโยบายตามแผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมฉบับที่4(2535ถึง2539)คือบำรุงรักษาสืบทอด ทรัพย์สินทางศิลปวัฒธรรมปลูกฝังจิตสำนึกให้เยาวชนเกิดความรู้ความสนใจเห็นคุณค่าและภูมิใจมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่เป็น รากฐานของตนเองและของท้องถิ่น

โยบายจังหวัดนครปฐม

มีวัตถุประสงค์กลยุทธ์และเป้าหมายในการพัฒนาจังหวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวให้สมบูรณ์ในด้านโบราณประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรมให้สามารถเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดใกล้เคียงอีกทั้งยังมุ่งเน้นให้เป็นเมืองหลักในด้านการศึกษาวิชา- ชีพ ศาสนาและ วัฒนธรรมของภาคกลางตอนบน
วัตถุประสงค์ของโครงการ
โครงการศูนย์ประวัติศาสตร์ทวาราดี จัดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านต่าง ๆ คือ

        ด้านนโยบาย
        แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่8พ.ศ.2540ถึง2544เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางหรือจุดมุ่งหมายหลักของ การพัฒนาให้ทุกคนได้พัฒนาศักยภาพมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศเป็นส่วนร่วมในทุกมิติเน้นศักดิ์ศรีความเป็น คนมีจิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นการพัฒนาที่มีพื้นฐานในความเป็นไทยรู้จักตัวเองและวัฒนธรรม

        ด้านเศรษฐกิจ
        ขยายโอกาสให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่มีอาชีพการงานเพื่อปรับปรุงคูณภาพชีวิตของประชาชนให้หมดจากสภาพ ว่างงาน โดยจัดหาแหล่งงานในพื้นที่ เพื่อลดปัญหาการอพยพแรงงานเข้าสู่เมืองหลวง

        ด้านสังคม
        ปลูกฝังจิตสำนึกของประชาชนให้รู้ถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมของจังหวัดให้เป็นมรดกของชาติสำหรับอนุชนรุ่นหลัง และเป็นรากฐานสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนของของประเทศสืบต่อไปอีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนในจังหวัด ร่วมมือกันที่จะ อนุรักษ์และฟื้นฟูโบราณวัฒนธรรมและประเพณี

        ด้านกายภาพ
        เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทัศนียภาพของเมืองเก่าและรักษาสภาพแวดล้อมโดยรวมของจังหวัดนครปฐมโดยยังคงรูปแบบของ สถาปัตยกรรมให้ความสอดคล้องและกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมเดิมที่มีอยู่

        ด้านการศึกษา
        เพื่อเป็นศูนย์กลางให้ความรู้การศึกษาค้นคว้าวิจัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม เชื้อชาติ รูปแบบงานสถาปัตยกรรมในจังหวัดนครปฐม

ระโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ด้านนโยบาย
เป็นการตอบสนองของรัฐบาลของรัฐบาลตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำให้มีสถานที่ที่ส่งเสริมศิลปะ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์และเป็นที่ศึกษาค้นคว้าวิจัย และเผยแพร่ข่าวสารแก่ผู้สนใจ

        ด้านสังคม
        ทำให้เกิดสถานที่อบรมสัมนาและเป็นศูนย์กลางของประชาชนและทำให้ประชาชนเกิดการตื่นตัวในการศึกษาเรื่องราว ความเป็นมาของประวัศาสตร์ความเป็นมาสมัยทวารวดีและปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมอันดีต่อประชาชนรวมถึงเป็น สถานที่แลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมออกสู่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

        ด้านเศรษฐกิจ
        เพิ่มรายได้ให้แก่จังหวัดและประเทศชาติ ทางด้านเศรษฐกิจในการท่องเที่ยวภายในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง

        ด้านสภาพแวดล้อม
        ได้ส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่ารวมถึงได้ฟื้นฟูโบราณสถานให้เกิดความสมดุล ในด้านระบบนิเวศน์และสภาพแวดล้อมทำเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจแก่ประชาชน