เรือนไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
The Domestic Architecture of The Thai Muslims in The Southern Border Provinces of Thailand

ลักษณะของเรือนไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้

บ้านเรือนนับว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ ในด้านการตอบสนองความต้องการเรื่องที่อยู่อาศัย ดังนั้นลักษณะของบ้านเรือนจะต้องสร้างให้เหมาะสมกับลักษณะของภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ตลอดจนวัฒนธรรมของผู้คนในแต่ละสังคม รวมทั้งคุณค่าทางสถาปัตยกรรม เช่นเดียวกับเรือนไทยมุสลิม ซึ่งมีองค์ประกอบหลายประการ ความเชื่อหลายหลากที่มีอิทธิพลต่อการสร้างบ้านเรือนดังนี้

องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบของเรือนไทยมุสลิม

 


1.ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบด้วยเทือกเขา
สันกาลาคีรี ซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย ภูมิอากาศโดยทั่วไปอากาศมี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน เนื่องจากได้รับลมมรสุมที่พัดผ่านเสมอ อิทธิพลต่อรูปแบบของเรือนไทยมุสลิม ได้แก่ ตัวเรือนมีใต้ถุนโล่ง ตั้งอยู่บนเสา
ไม้มีตอม่อหล่อด้วยซีเมนต์ หรือสลักจากไม้หรือศิลาแลงรองรับ เพื่อป้องกันความชื้น และปลวกขึ้นไปทำลายตัวเรือน
หลังคาสูงไม่มีเพดาน ช่องลมสูงเป็นพิเศษหน้าต่างมีลักษณะคล้ายประตูมีลูกกรง
ด้านล่างเพื่อป้องกันมิให้เด็กตก เป็นต้น

2. ศาสนา

ประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้นับถือศาสนาอิสลาม มีข้อปฏิบัติทางศาสนาทีเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวไทยมุสลิมอย่าง
แยกแยะไม่ออกศาสนาอิสลามมีอิทธิพลต่อการสร้างบ้านของชาวไทย มุสลิมเป็นอย่างยิ่ง เช่น การนิยมพื้นที่โล่งมากกว่าการกั้นห้องเพื่อสะดวกในการทำศาสนกิจ

3.อาชีพ

อาชีพของประชากรนับได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความเป็น
อยู่ของการ สร้างชุมชนและบ้านเรือนของชาวไทยมุสลิม เช่น หมู่บ้าชาวประมงที่มีรูปแบบเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งทะเล เป็นต้น


 

4. สถานภาพทางเศรษฐกิจ

เรือนคหบดีหรือเรือนของผู้นำทางศาสนา ผู้ใหญ่บ้านที่มีฐานะดีมักเป็นเรือนที่ตบแต่งสวยงาม ซึ่งแตกต่างกับคนที่ฐานะด้อยกว่า

5. ประโยชน์ใช้สอย

อาคารที่ทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชาวมุสลิม มีรูปแบบแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประโยชน์ใช้สอยดังนี้
5.1 อาคารทางศาสนา เช่น มัสยิด สุเหร่า บาลาเซาะห์ สร้างอย่างปราณีตเป็นพิเศษ
5.2 ศาลา ชาวไทยมุสลิมมีความนิยมในการสร้างศาลา ศาลาที่สร้างโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ศาลาริมทาง และศาลาที่สร้างในสุสานเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา
5.3 ยุ้งข้าวหรือเรือนข้าว เรือนข้าวของชาวไทยมุสลิมมักสร้างอย่างแข็งแรง และมิดชิดไม่นิยมทำหน้าต่างเนื่องจากฝนตกชุกเพื่อป้องกันสัตว์ขึ้นไปทำลายข้าว

6. วัสดุก่อสร้าง

เรือนไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานีและนราธิวาสทั้งที่สร้างในปัจจุบันหรือในสมัยโบราณ
ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จะใช้กระเบื้องซึ่งได้จากโรงกระเบื้องในท้องถิ่นที่มีกรรมวิธีการผลิตที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณ
โดยนำวัสดุในพื้นถิ่น นำมาสร้างบ้านเรือน

7. อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างถิ่น

โดยทั่วไปหากพิจารณาจากรูปทรงหลังคาของเรือนไทยมุสลิมจะเห็นได้ว่าแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
7.1 หลังคาแบบปั้นหยา
ชาวพื้นเมืองเรียกว่า "ลีมะฮ์ "แปลว่า หลังคาห้า
7.2 หลังคาแบบจั่วมนิลา ซึ่งชาวพื้นเมืองเรียกว่าบลานอ“ได้รับอิทธิพลมาจากอินโดนิเซียซึ่งเป็นอาณานิคมของฮอลันดา
ซึ่งพวกเขาเรียกชาวฮอลันดาว่า "บลานอ"
7.3 หลังคาแบบจั่ว
ชาวพื้นเมืองเรียกว่า “ แมและ “ ได้รับอิทธิพลมาจากเรือนไทยภาคกลาง เป็นต้น
หลังคาของเรือนไทยมุสลิมจะเห็นได้ว่ามีลักษณะที่โดดเด่นมาก มีการประยุกต์ให้เหมาะสมกับรสนิยมของเจ้าของ ส่วนมากเป็นหลังคาแฝด ผสมผสานระหว่างหลังคาทั้ง 3 แบบ

8. ความเชื่อ

ความเชื่อมีผลต่อลักษณะของเรือนมากทีเดียว ไม่ว่าจะในด้านการก่อสร้าง ลวดลายต่างๆ ซึ่งหนึ่งในความเชื่อที่สำคัญที่สุด คือ ความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับศาสนาที่มีอิทธิพลต่อเรือน คือ บ้านของชาวไทยมุสลิมจะหันหน้าบ้านไปทางทิศตะวันออก หลังบ้านสู่ทิศตะวันตก เนื่องจากชาวมุสลิมต้องละหมาด ซึ่งต้องหันหน้าไปสู่นครเมกกะ
กางวางผังปลูกเรือนในลักษณะนี้จะสะดวกในการหาทิศสำหรับแขกที่มาพักหรือมาเยี่ยมเยียน และมีการกำหนดพื้นที่ที่ใช้ทำพิธีละหมาดไว้ในตัวเรือนด้วย

โครงสร้างและองค์ประกอบของเรือนไทยมุสลิม

การปลูกสร้างเรือนไทยมุสลิม โครงสร้างส่วนใหญ่จะใช้ไม้ การสร้างเรือนมิได้เขียนแบบไว้ล่วงหน้า ช่างพื้นบ้านจะสร้างโดยอาศัยประสบการณ์ในการกำหนดผังเรือน ขนาดและรูปแบบของเรือน องค์ประกอบและรายละเอียดมีดังนี้

ฐานเสาเรือน
ไม่ใช้เสาเรือนปักลงดิน แต่จะใช้คอนกรีตสำเร็จรูปรองรับเสาเรือน ฐานที่รองรับเสาเรือนจะวางบนพื้นดินซึ่งปรับไว้เรียบ ไม่ฝังดิน

เสาเรือน ใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นเสาสี่เหลี่ยม วางบนฐานสำเร็จรูปโยมิได้บากเสา แต่จะอาศัยโครงสร้างที่ยึดกัน และน้ำหนักเรือนทำให้เรือนอยู่บนฐานได้

บันได เรือนไทยมุสลิมส่วนมากจะมีบันไดทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเรือน โครงสร้างบันไดแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1.บันไดที่มีลักษณะโปร่ง จะทำมาจากไม้ขั้นของบันไดจะไม่มีลูกตั้งมีแต่ลูกนอน
2.บันไดที่มีลักษณะทึบ
จะทำมาจากปูนซีเมนต์ทึบทั้งลูกตั้งและลูกนอนทางขึ้นจะมีที่ สำหรับล้างเท้า

ชานโล่ง
จากบันไดก่อนขึ้นสู่ตัวเรือน มักจะทำชานโล่งซึ่งแม่บันไดจะพาดบนพื้นของชานโล่งนี้ ส่วนมากจะปูพื้นชานโล่งด้วยไม้กลมเนื้อแข็งเพื่อความทนทาน ซุ้มประตู จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ซุ้มประตูทางบ้านเข้าบ้านและซุ้มประตูทางเข้าเรือนบ้านที่กั้นรั้วเป็น อาณาเขตจะนิยมสร้างซุ้มประตู

เฉลียง
คือ ส่วนที่อยู่ด้านหน้าสุดของเรือน ซึ่งอยู่ภายใต้หลังคาของเรือน เป็นที่สำหรับใช้พักผ่อนและพื้นที่เอนกประสงค์มักจะทำม้าเป็น
กระดานวาง อยู่ริมเฉแลียงทอดยาวตามลักษณะของเฉลียง
พื้นเรือน
ใช้ไม้กระดานปูตามยาวของเรือน พื้นเรือนของผังส่วนหน้าจะเป็นระดับเดียวกันตลอด
ฝาผนัง
ใช้วัสดุต่างๆในการทำฝาผนังของเรือนตามฐานและประโยชน์ใช้สอย เรือนในชนบทฝาผนังจะใช้ไม้ไผ่หรือหวายขัดแตะ เรือนที่มีฐานะมักจะใช้ไม้กระดานตีทับซ้อนเป็นเกล็ดสังกะสีเคลือบสีสำเร็จรูป

หน้าต่าง ในภาษาถิ่นมลายูเรียกว่า”ปิตูนาแต”หมายถึงหน้าต่างที่มีลักษณะเป็นเช่นเดียว
กับประตู บานเปิดทั้งสองบาน

ประตู ถ้าเป็นประตูเข้าเรือนด้านหน้าจะนิยมใช้ประตูเเบบบานเฟี้ยมทำด้วยไม้ในบ้านขนาดใหญ่

ฝ้าเพดาน เรือนไทยมุสลิมจะไม่ทำฝ้าเพดานจึงสามารถมองเห็นโครงหลังคาของเรือนได้ชัดเจน

หลังคา โครงสร้างของหลังคาส่วนมากจะใช้ไม้ระเเนงเพราะนิยมมุงกระเบื้องดินเผาวัสดุที่ใช้
มุงหลังคา

หน้าจั่ว เรือนไทยมุสลิมนิยมตกแต่งหน้าจั่วเป็นลักษณะต่างๆ เช่น ตกแต่งเป็นรูปรัศมีดวงอาทิตย์ บางหน้าจั่วจะเป็นกระดานเรียบแต่เขียนลวดลายเป็นดอกไม้ และภาษาอาหรับ

ยอดจั่ว จะนิยมตกแต่งเป็นเอกลักษณ์อย่างชัดเจนตรงปลายมุมเเหลมของยอดจั่วจะเป็นเสา
ขนาดเล็กทำด้วย
ไม้กลึงเเละหล่อซีเมนย์ ด้านข้างทั้ง 2 ข้างเสาที่ยอดจั่วจะตกแต่งด้วยลวดลายฉลุไม้

ปั้นลม ส่วนมากจะใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นเส้นตรงบรรจบกันที่มุมแหลมของยอดจั่วปลายลางของ
ปั้นลมจะตัดตรงไม่ทำลวดลายอะไรแต่ปั้นลมของเรือนทที่มีอายุเก่าแก่จะมีการ
ตกแต่งปั้นลมเป็นลายฉลุแกะสลักไม้

สันหลังคา ใช้ครอบกระเบื้องและปูนปั้น ส่วนปลายของสันหลังคาที่เทลงมา จะปั้นปูนให้กระดกขึ้นเล็กน้อย เรือนบางหลังจะตกแต่งสันหลังคาด้วยเสากลึงขนาดเล็ก

เชิงชาย เรือนไทยมุสลิมทั่วไปจะทำเชิงชายเรียบธรรมดา แต่มีบางเรือนที่มีการตกแต่งเชิงชาย ในลักษณะใช้ไม้กระดานเป็นเชิงชายแผ่นเดียวแต่ด้านล่างจะทำลวดลายฉลุไม้

ยุ้งข้าว เรือนไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานีมักจะสร้างยุ้งข้าว ไว้เก็บข้าวอีกหลังต่างหาก

บ่อน้ำ ถ้าเป็นบ้านหลังเดียวจะมีบ่อน้ำประจำบ้านแต่ละหลัง ถ้าเป็นหมู่บ้านที่ปลูก สร้างใกล้กันจะใช้บ่อน้ำรวมกันที่ตั้งของบ่อน้ำจะอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังของเรือน

ที่อาบน้ำ โดยปกติชาวไทยมุสลิมจะไม่อาบน้ำบนเรือนจะอาบน้ำชำระร่างกายบริเวณบอ่น้ำของ
เรือนที่อาบน้ำจะแบ่งเป็น2ลักษณะลักษณะแรกจะใช้แผ่หินหรือแผ่นซีเมนต์ปูพื้นข้าง
บ่อน้ำเป็นที่อาบน้ำอีกลักษณะจะกั้นเป็นคอกสี่เหลี่ยมทำด้วยจากใบมะพร้าวหรือ
สังกะสีสูงแค่ไหล่ไม่มีหลังคาเว้นทางเดินเข้าด้านใดด้านหนึ่งเพื่อตักน้ำจากบ่อเข้าไปอาบ
ส้วม ในอดีตบ้านของชาวไทยมุสลิมจะไม่มีการสร้างส้วมในบริเวณบ้าน จะไม่ถ่ายในป่าหรือทุ่งใกล้บ้าน

เสาแขวนกรงนกเขาชวา วัฒนธรรมอีกประการหนึ่งของชาวไทยมุสลิม คือการเลื้องนกเขาชวาถือว่าเป็นงานอดิเรกอย่างหนิ่งที่แพร่หลายในภาคใต้ตอนล่าง

บริเวณบ้าน โดยทั่วไปจะเป็นลานดิน หมู่บ้านที่ปลูกสร้างเป็นกระจุก เรือนแต่ละหลังจะปลูกสร้างชิดกัน เว้นไว้เฉพาะทางเดินแคบๆ ระหว่างบ้าน สำหรับเรือนที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นทางคมนาคมทางบก ถ้าสร้างรั่วจะสร้างแบบง่ายๆ

 

                           
       


   

                       

 

 

รูปแบบของเรือน

 

เกี่ยวกับอาชีพและฐานะเจ้าของบ้านจะแบ่งออกเป็นเรือนชาวกสิกรรม ชาวประมง เรือนค้าขาย และเรือนคหบดี เรือนเหล่านี้จะมีความแตกต่างกันมีรูปแบบและการใช้สอยเฉพาะตัว ดังมีรายละเอียดดังนี้

เรือนชาวกสิกรรม
จะปลูกด้วยวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น หลังคาของเรือนจะเป็นทรงจั่ว ไม่มีการตกแต่งหน้าจั่วไดๆ ทั่งสิ้น วัสดุมุงหลังคาส่วนใหญ่ใช้จาก ฝาผนังเรือนใช้ไม้ไผ่ขัดแตะใต้ถุนเรือนยกสูงจากพื้นดินจะใช้พื้นที่ใต้ถุนเรือนเพื่อการเลี้ยงสัตว์ เช่น โคกระบือ ไก่ และแกะ มีบันไดขึ้นเรือนด้านหน้าหรือด้านซ้ายของเรือน

เรือนชาวประมง
มีการปลูกสร้างเรือนทั้งบนพื้นดินและในน้ำ หลังคาทรงจั่วทรงมนิลาและทรงปันหยา มีการตกแต่งจั่ว

เรือนค้าขาย
ลักษณะของเรือนเป็นแบบชั้นเดียวและแบบสองชั้น ชั้นล่างใช้สำหรับค้าขาย ชั้นบนเป็นที่พักอาศัย สร้างติดพื้นดินไม่มีใต้ถุน หลังคาทรงปั้นหยา ทรงจั่ว และทรงมนิลา ส่วนมากมักจะใช้หลังคาทรงปั้นหยา และมักจะหันด้านเอียงลาดของหลังคาทางด้านหนัาติดถนนและด้านหลังของร้านค้าหัน
หน้าจั่วอกกด้านข้าง วัสดุมุงหลังคาส่วนมากมุงด้วยกระเบื้องดินเผาและสังกะสี บางแห่งมีการตกแต่งสันหลังคาด้วยเสาขนาดเล็กและลายฉลุโปร่ง

เรือนคหบดี

เป็นเรือนที่มีขนาดใหญ่หลังคาจั่วและมนิลาตั้งแแต ่2 หลังคาขึ้นไป

                                       

วัสดุมุงหลังคาใช้กระเบื้องดินเผาลักษณะเฉพาะมีการตกแต่งลวดลายมากเช่นสันหลังคาหน้าจั่วผนังของเรือน
ใช้ไม้กระดานตีซ้อนทับเป็นเกล็ดในเรือนที่มีอายุเก่าแก่ผนังเรือนจะใช้ไม้กระดานแผ่นใหญ่เป็นลูกฟักมีลายฉลุ
ที่ช่องแสงและช่องระบายอากาศลักษณะเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมของเรือนไทยมุสลิมคือการเรือนที่ตาม
หลักสากลเรียกว่าฟรีแฟบบริคเคชั่น(Prefabrication)คือการผลิตส่วนประกอบของเรือนก่อนแล้วจึงนำส่วนต่างๆ
เหล่านั้นประกอบกันเป็นตัวเรือนอีกทีหนึ่งอีกลักษณะหนึ่งคือการนำบางส่วนของเรือนเก่ามาต่อเติมสร้างเรือนหลังใหม่ โดยปกติเรือนไทยมุสลิมจะแยกส่วนที่อยู่อาศัยคือแม่เรือนออกไปจากครัวซึ่งเป็นที่ประกอบอาหารโดยใช้เฉลียงเชื่อม
ต่อกันลักษณะเรือนโดยทั่วไปมักจะเป็นเรือนแฝดและสามารถต่อขยายไปได้ตามลักษณะของครอบครัวขยายโดย
มีชานเชื่อมกันและอีกทั้งสามารถแบ่งแยกให้บรรดาลูกหลานที่จะแยกย้ายตัวเรือนไปประกอบใหม่ในบริเวรอื่นได้
คุณค่าทางสถาปัตยกรรม เรือนไทยมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้มีคุณค่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเรือนที่เก่าแก่บาง
หลังได้รับอิทธิพลมาจากเรือนไทยภาคกลางเช่นการวางตัวเรือนและรูปแบบฝาผนังเรือนคุณค่าทางสถาปัตยกรรม
พบในส่วนที่เป็นองค์ประกอบของเรือนแต่ละแห่งเช่นเรือนแถวที่บ้านปรีกีตำบลกระโดมีการตกแต่งยอดจั่วงดงาม
ได้จังหวะรับกับสัดส่วนของหน้าจั่ว

การประดับตกแต่งเรือนไทยมุสลิม

 

หากพิจารณาอย่างผิวเผินจะเห็นว่าลวดลายไม้หรือสังกะสีแกะสลักและ
ลวดลายปูนปั้นที่ประดับอยู่ตามยอดจั่วเชิงชายและช่องลมของเรือนชาวไทย
มุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นจะมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันกับลวดลาย
ของบ้านโบราณในภาคกลางแต่หากศึกษาให้ลึกลงไปจะพบว่าลักษณะ
ลวดลายแกะสลักที่ใช้ประดับบ้านให้ดูงามอย่างลงตัวนั้นตล้อยตามหลักการและความเชื่อของศาสนาอิสลาม

 


,หน้าถัดไป