ระบบประสานทางพิกัด
Modoler Coordination


 

เลอ คอร์บูซิเอ เป็นผู้นำอีกกลุ่มหนึ่งที่เคยคลุกคลีมากับกลุ่มของ โกรเปียส ดังนั้น นอกจากจะเห็นชอบในหลักการเรื่องประโยชน์ใช้สอยและความสง่างามเกิดขึ้นได้จาก การจัดมวล และสัดส่วนอันพอเหมาะแล้ว โดยกำหนดทิศทางวิชาชีพแรกเริ่มแล้ว คอร์บู ได้เป็นศิลปินด้วยเหตุที่เป็นผู้ค้นคว้าเรียนรู้ และคบหาสังคมกับกลุ่มผู้บุกเบิกสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ จึงทำให้ขเามีแนวความคิดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่แตกต่างเพิ่มขึ้นจากกลุ่มอื่นอีก สถาปนิกที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้อีกท่านหนึ่งได้แก่ หลุยคาห์น ที่ยึดหลักการพื้นฐานเดียวกันแต่ หลุยคาห์นมีความถนัดในการใช้คอนกรีตโครงสร้างได้แหลมคมกว่าเช่นเรื่อง Prestress Concrete และเรื่อง
อาคารสำเร็จรูปและเรื่องความเว้นว่างริชชาร์ดมายเออร์ก็ยอมว่าเลอคอร์บูซิเอมีอิทธิพลต่อการใช้ทรวดทรงและ
การใช้แสงในอาคารได้เขามากซึ่งพอจะนำกฎเกณ์ของ เลอ คอร์บูซิเอ มารวบรวมไว้ได้คือ

หลักการออกแบบ 5 ข้อของเลอ คอร์บูซิเอ

  1. อาคารควรจะวางอยู่บนเสา เพราะอาคารในสมัยก่อนหน้านี้มักจะวางอยู่บนพันดินโดยตรง ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความชื้นภายในอาคารทำให้อาคารชำรุดเร็วและผู้อาศัยเสียสุขภาพ ห้องต่างๆภายในอาคารจะไม่ได้รับแสงสว่างเพียงพอ ผลจากการยกอาคารสูงได้ประโยชน์ในเรื่องการระบายอากาศได้แสงสว่างเพิ่มขึ้นและมีความปลอดภัยมากกว่า แนวความคิดนี้เขาได้นำไปใช้ในอาคารใหญ่ เช่น แฟลต หอพัก หรืออาคารสำนักงาน ดังจะเห็นว่าเสาที่รองรับอาคารมีขนาดใหญ่มากโดยมีส่วนหนึ่งเป็นช่องสำหรับเดินท่อต่างๆ ของส่วนบริการไปด้วย
  2. อาคารจะมีดาดฟ้าสำหรับเป็นที่พักผ่อนในสมัยก่อนหลังคาเอียงลาดเพื่อรองรับน้ำฝนแลหิมะ ซึ่งเหมาะสำหรับวัสดุมุงซึ่งเป็นกระเบื้องในสมัยนั้น แต่ปัจจุบันเราใช้พื้นคอนกรีตแบนราบแทนเราจึงออกแบบให้มีการใช้สอยในส่วนนี้ด้วย
  3. ควรใช้ระบบโครงสร้างแบบถ่ายน้ำหนักลงที่คานและเสา(Skeleton Constuction)ทำให้การจัดวางที่ว่างภายในอาคารมีอิสระมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีผนังทึบตลอดหรือส่วนมากเพราะผนังมิได้รับน้ำหนัก คานและเสาคอนกรีตเสริมเหล็ฏได้รับน้ำหนักแทนจึงสามารถเปิดหน้าต่างประตูได้อย่างอิสระ ทำให้รูปด้านของอาคารมีลักษณะแปลกและสนองประโยชน์ใช้สอยได้อย่างเต็มที่
  4. ผลจากการใช้โครงสร้างในข้อ 3 จึงทำให้ผนังมีความสัมพันธ์กัะบเสาน้อยลงอาจจัดให้เสาลอยนอกผนังอาคาร หรือเอาผนังไปไว้นอกแนวเสาก็ได้ ดังนั้นจึงสามารถนำวัสดุที่เบามาใช้ในส่วนนี้ได้ วัสดุดังกล่าวได้แก่ โครงเหล็กและแผ่นกระจก ซึ่งที่จริงทำให้เกิดระบบกำแพง หรือผนังแขวนลอยนั้นเอง(Curtian Wall)
  5. ผลจากโครงสร้างและการใช้ผนังโปร่งเบา ทำให้ความสัมพันธ์ภายในและภายนอกมีบรรยากาศดีขึ้น โดยที่มีผลในเรื่องการป้องกันความร้อนและความชื้น

ทฤษฎีโมดูล่า ได้มาจากปัจจัย 5 อย่างคือ

  1. มุมฉากที่ได้รับการพิจารณา คัดเลือก มาประกอบเป็นสัดส่วนในงานสถาปัตยกรรม แล้ทำให้เกิดความประทับใจเมื่อได้สัมผัสด้วยสายตา
  2. ความที่มนุษย์ไม่เคยเห็นความงามมากได้เท่าที่เคยได้ยินมาจากเสียงดนตรีที่ละเอียดและไพเราะ ซึ่งสามารถรวบรวมไว้ด้วยมิติ ซึ่งมีความก้าวหน้าและมีความกลมกลืนกันอย่างยิ่ง ซึ่งในอดีตชาวกรีกอาจจะเคยรู้จริงในข้อนี้จึงสามารถสร้างสรรค์งานที่เป็นอมตะขึ้นมาได้ แต่ก็ไม่สามารถCondifiedได้ ซึ่งต่างกับดนตรีซึ่งถูก Condified ได้ตั้งแต่สมัยของบ๊าค
  3. ความจริงที่ยอมรับกันมาในอดีตแล้ว เกี่ยวกับเรื่องของสัดส่วน เช่นสัดส่วน 8 ต่อ 3ซึ่งถือเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ดูน่าพอใจ หรือสัดส่วนที่เรียกว่าGolden Section(สัดส่วนสมบูรณ์ลักษณ์)ซึ่งมีด้านยาวเท่ากับเส้นทะแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่เกิดจากด้านสั้นของมัน ซึ่งสัดส่วนเหล่านี้ทำให้เกิดความพอใจเมื่อได้เห็น ไม่วาจะเป็นกรอบรูป กรอบหน้าต่าง หรือที่เป็นขนาดใหญ่ เช่น รูปด้านของอาคาร หรือแม้แต่จัตุรัสใจกลางเมือง
  4. ความจริงซึ่งมนุษย์สามารถสร้างสัดส่วนที่สวยงามได้และได้เคยสร้างมาแล้ว เช่น สัดส่วนสมบูรณ์ลักษณ์ ล้วนเป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งสามารถหาชุดอนุกรมของสัดส่วน ซึ่งค่อยๆใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง ในทางตรงข้าม ซึ่งแต่ละสัดส่วนจะมีความสัมพันธ์กัน กลมกลืนกันในลักษณะตรงที่ว่า สัดส่วนที่ใหญ่กว่าสามารถนำเอาสัดส่วนที่เล็กกว่าหลายๆชั้น บรรจุลงได้
  5. สัดส่วนนั้นควรจะสามารถบรรจุสัดส่วนที่เกี่ยวกับมนุษย์ได้ เช่น คนยืนชูแขน คนนั่ง คนยืน โดยสัดส่วนได้นั้นมาจากมนุษย์

เรื่องโมดูล่าของเลอ คอร์บูซิเอ ที่กล่าวมาแล้งทั้งหมดเป็นที่ยอมรับกันว่า เขายึดมั่นในเรื่องที่เกี่ยวกับสัดส่วนที่ดีกับเรื่องของGolden Sectionแล้วนำสัดส่วนที่ว่าดีแล้วมาทำให้เกิดความสัมพันธ์กับสัดส่วนของมนุษย์ แล้วจึงเป็นข้อมูลในการออกแบบอาคาร

การคำนวณทางเรขาคณิตและคณิตศาสตร์

     

 

โมดูเลอร์คือระบบการวัดสัดส่วนในวานออกแบบที่สามารถใช้เป็นมาตรวัดตั้งแต่ชิ้นส่วนของเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเล็กๆ ไปถึงขนาดของอาคารจนกระทั่งสัดส่วนของเมืองทั้งเมืองโดยมีนัยยะสำคัญว่าสัดส่วนของงานออกแบบทั้งหลาย นั้นสัมพันธ์กับสัดส่วนการใช้สอยและการมองเห็นของมนุษย์อย่างมากที่สุดนอกจากนี้ยังเป็นสัดส่วนที่สามารถ
ปรับเข้าใช้กับผู้ใช้ทั่วโลก

องค์ประกอบพื้นฐานของโมดูเลอร์ประกอบด้วยสองส่วนคือการคำนวณทางเรขาคณิต เพื่อค้นหาสัดส่วนทอง(GoldenSection)สร้างสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความพิเศษและการผสมผสานสัดส่วนของมนุษย์
ที่มีความสูง 6 ฟุตเข้าไปโดยมีรายละเอียดดังนี้

การคำนวณหาสัดส่วนทองเริ่มต้นที่สร้างสี่เหลี่ยมจัตุรัส abcd แบ่งครึ่งสี่เหลี่ยมนี้ได้เส้น ef ใช้ e เป็นจุดศูนย์กลาง ให้รัศมีเท่ากับเส้นแทยงมุม ec สร้างเส้นรอบวงของวงกลมมาบรรจบกับเส้นฐานเดิมที่ลากยาวออกมาคือ ag สร้างสี่ขึ้นมาจนครบจุดที่ ch ก็จะได้สี่เหลี่ยม bghd ที่มีขนาดความกว้าง bd,gh เท่ากับ 1 และความยาว bg,dh เท่ากับ 1.6

ลากเส้นgfแล้วสร้างมุมฉากนี้ที่จุดfลากเส้น
gbต่อมาจนบรรจบกับกับเส้นตั้งฉากจากจุด f ได้จุดiลากเส้นhbให้มาเท่ากับจุดiแล้วลากเส้น ij
แบ่งครึ่งสี่เหลี่ยมทั้งหมดนี้ออกเป็นสองส่วนเท่ากันโดยเส้นkl ผลก็คือจะได้จะได้สี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มขึ้นสองรูปคือkghl และ iklj ซึ่งมีขนาดเท่ากับสี่เหลี่ยมจัตุรัส abcdเดิมโดยทั้งหมดนี้อยู่ในสี่เหลี่ยมผืนผ้าighj ซึ่งมีด้านกว้างเท่ากับด้านยาวเท่ากับสอง(01,02)กลับหัวกลับ หางรูปสี่เหลี่ยมนี้แล้วนำความสูงของคนขนาด 6ฟุต(6ฟุต30.48ซ.ม.=182.88)เข้าไปสู่ภายในความยาว


iaจะได้สัดส่วนดั้งนี้สัดส่วนของสี่เหลี่ยมทั้งรูปจาก i ถึง g จะยาวเท่ากับ 266 เท่ากับระยะที่คนในความสูงหกฟุตเหยียดแขนขึ้นไปจนสุด,ความกว้างของฐานสี่เหลี่ยม ij จะเท่ากับ 113 (03)(เลอ คอร์บูซิเอใช้ความสูง 175 ซ.ม. เป็นความสูงเฉลี่ยเมื่อคำนวณครั้งแรกแต่เปลี่ยนใจทีหลัง เมื่อมีเพื่อนทักว่าความสูงควรจะเป็น 6 ฟุต)
และด้วยการคำนวณสองวิธีคือ หนึ่งเริ่มต้นจากสัดส่วน 113 แล้วทำอัตราส่วนทองเพิ่มขึ้นหรือลดลงไปเรื่อยๆ (คูณด้วย 1.618หรือหารด้วย 1.618) ก็จะได้ตัวเลขที่เรียกว่าชุดสีแดง (red series) 2. เริ่มต้นจากสัดส่วน226 (ซึ่งก็คือสองเท่าของ 113 หรือด้านยาวของรูปสี่เหลี่ยมที่สร้างขึ้นมาได้นี้เอง) แล้วทำสัดส่วนทองเพิ่มขึ้นหรือลดลง(คูณด้วย 1.618 หรือหารด้วย1.618)ก็จะได้ชุดตัวเลขที่เรียกว่าชุดสีน้ำเงิน(blueseries)ซึ่งการเปลี่ยนความสูงเฉลี่ยของคนมาเป็น6 ฟุตทำให้ปัญหาความลักลั่นของระบบวัดที่สำคัญที่สุดของโลกสองระบบคือระบบเมตริกและระบบนิ้วฟุตหมดไป เนื่องจากสามารถคำนวณได้ด้วยตัวเลขทั้งชุดแดงและน้ำเงินได้ดังตารางนี้(04)
สัดส่วนที่เกิดขึ้นไม่รู้จบจากการคำนวณนี้เองที่เลอคอร์บูซิเอร์เห็นว่าสามารถใช้ได้ครอบจักรวาลกับงานออกแบบ ทั้งหมดและเป็นฐานให้กับการวัดทั้งหลายโดยที่สัดส่วนที่ได้มาจะสัมพันธ์กับสัดส่วนของมนุษย์และการมองเห็นที งดงามโดยที่การให้ความสูงเแลี่ยของมนุษย์เท่ากับ 6 ฟุตนั้นเป็นการให้คำว่า ใหญ่ ไว้ก่อนคนที่ตัวเล็กกว่าก็ยังใช้ได้ ในขณะที่ถ้าให้ค่าเล็กคนที่ใหญ่กว่าจะใช้ได้ไม่ถนัด

การปรับใช้


นอกจากการทดลองจัดองค์ประกอบสองมิติโดยสัดส่วนโมดูเลอร์นี้แล้ว(05) ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดของการใช้ระบบมาตราวัดนี้ในการออกแบบก็คืองานออกแบบอาพาร์ตเมนต์ที่เมือง Mareseille ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสที่เรียกว่า Uniite’ D’Habitation โดยที่เลอ คอร์บูซิเอร์ใช้มาตรวัดทั้งสองระบบสี ผสมผสานในการออกแบบของอาคารทั้ง อาคารไปกระทั่งเฟอร์นิเจอร์ในห้อง (06,07,08)

ในระดับผังเมือง อาคาร Uniite’ D’Habitation สามารถขยายตัวจัดองค์ประกอบให้กลายเป็นเมืองที่เรียกว่า
RadiantCityได้(09)หรือแม้กระทั้งการนำระบบโมดูเลอร์ไปใช้กับเมืองเก่าอย่างปารีสซึ่งจะได้การวางผังจากระบบ
นี้ทั้งระบบ(10)นอกจากนี้การศึกษาของเลอร์คอร์บูซิเอร์สัดส่วนที่เกิดขึ้นจากโมดูเลอร์สามารถวัดหรืออีกนัยหนึ่ง
ทำการศึกษาเทียบเคียงสัดส่วนจากงานสถาปัตยกรรมสมัยโบราณ เช่นที่ทดลองทำที่ Abbey of alis, แผ่นหินแกะนูนต่ำสมัยอียิปต์และอีกหลายสมัย(11)

สรุป


ในท้ายที่สุดแม้ว่าเลอร์คอร์บูซิเอร์จะทำการคาดหวังกับโมดูเลอร์ไว้ค่อนข้างสูง
และตัวเองก็ลงมือปฏิบัติการออกแบบโดยระบบนี้ด้วยแต่กระแสนิยมเรื่องภูมิภาค
หรือท้องถิ่นที่มีความหลากหลายทำให้การใช้โมดูเลอร์ไม่ได้รับความต่อเนื่อง
ในการใช้ประโยชน์หรือการพัฒนาต่อในเชิงความคิดความพยายามที่จะนำ
สถาปัตยกรรมไปสู่ความเป็นสากลด้วยระบบวัดหน่วยที่เป็นหนึ่งเดียวต้อง
สูญสลายด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปดัชนีที่ชี้ชัดเจนที่สุดไม่ได้มาจาก
อื่นไกล คือผลงานของตัวสถาปนิกเองงานออกแบบวิหารที่ Ronchamp เป็นตัวอย่างของความเป็นตัวของตัวเองที่สัมพันธ์กับที่ตั้งมากกว่าที่จะเป็น
ตัวอย่างของการปรับใช้มาตราสากลให้มีสภาวะเหนือของพื้นที่ตั้งนอกจากนี้
ในส่วนของการเลือกสเกลของคนที่อิงอยู่กับ6ฟุตนั้นก็ถูกโจมตีจากหลายฝ่ายทั้งจากฝ่ายที่ไม่ใช่ตะวันตกหรือ
จากฝ่ายที่ไม่ใช่ผู้ชาย
อย่างไรก็ดีการคบคิดต่อในเรื่องสัดส่วนที่มีรากฐานมาจากโมดูเลอร์แม้จะเป็นคนละแนวทางเช่นจากสถาปนิก ญี่ปุ่นก็ช่วยชี้ให้เห็นระบบที่อาจจะเป็นเสมือนกระจกเงาที่ช่วยสะท้อนให้เห็นการตีความในเรื่องสัดส่วนของงานออกแบบหรือ งานสถาปัตยกรรมแง่มุมของท้องถิ่นหรือประเพณีนิยมโดยที่ประโยชน์ในฐานะเครื่องมือสำเร็จรูปอาจจะเป็นเรื่องรองลงไปก็ได้